Animals from thailand
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคาม เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึงสัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำ ให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวก โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไข หรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ อย่างยิ่ง 7 ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก 1 ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม 8 ชนิด รวมเป็น 15 ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพะยูน
สัตว์ป่า
คุณค่าของสัตว์ป่า
สัตว์ป่า
สัตว์ป่า คือ สัตว์ทุกชนิดไม่ว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง ซึ่งโดยภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมาย ว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้วและสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะ ดังกล่าว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ป่าไม้ อันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าได้ถูกทำลายลงไปมาก ตลอดจนการไล่ล่าของมนุษย์ จึงทำให้ปริมาณสัตว์ป่ามีจำนวนลดน้อยลงทุกปี จนบางชนิดสูญพันธุ์บางชนิดก็ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ จึงจำเป็นที่เราจะต้องช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่าไว้โดยเร่งด่วน
คุณค่าของสัตว์ป่า
สัตว์ป่าอำนวยประโยชน์นานาประการให้แก่มนุษย์ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มากมาย อย่างไรก็ตามประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นไปในทางอ้อมมากกว่าทางตรง จึงทำให้มองไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสัตว์ป่าเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ป่าไม้ น้ำ และแร่ธาตุ เป็นต้น ตัวอย่างคุณค่าของสัตว์ป่า เป็นต้นว่า
1. ด้านเศรษฐกิจ ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่มนุษย์ได้จากสัตว์ป่าก็ได้แก่การค้าสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าโดยเฉพาะหนังสือป่าในปีหนึ่ง ๆ ทำรายได้ให้กับประเทศและมีเงินหมุนเวียนภายในประเทศจำนวนไม่น้อย คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจจะรวมถึงรายได้ต่าง ๆ จากการท่องเที่ยวในการชมสัตว์ด้วย
2. การเป็นอาหาร มนุษย์ได้ใช้เนื้อของสัตว์ป่าเป็นอาหารเป็นเวลาช้านานแล้ว ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิดก็ได้พัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นเลี้ยงไป สัตว์ป่าหลายชนิดตามธรรมชาติคนก็ยังนิยมใช้เนื้อเป็นอาหารอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวาง กระจง กระทิง นกเขาเปล้า นกเป็ดน้ำ ตะกวด แย้ เป็นต้น อวัยวะของสัตว์ป่าบางอย่าง เช่น นอแรด กระโหลก เลียงผา เขากวางอ่อน เลือดและกระเพาะค่าง ดีของหมี ดีงูเห่า ก็ยังมีผู้นิยมดัดแปลงเป็นอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพรอีกด้วย
3. เครื่องใช้เครื่องประดับ นอกจากเนื้อของสัตว์ป่าและส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่าจะใช้เป็นอาหารและยาแล้ว อวัยวะบางอย่างของสัตว์ป่าก็ยังใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เช่น หนังใช้ทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม งาช้าง ใช้เป็นเครื่องประดับ กระดูก เขาสัตว์ใช้ทำด้ามมีดด้ามเครื่องมือ หรือแกะสลักต่าง ๆ เป็นต้น
4. การนันทนาการและด้านจิตใจ นับเป็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของสัตว์ป่า แต่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้โดยง่าย การท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าในสวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและแหล่งสัตว์ป่าอื่น ๆ นับเป็นเรื่องนันทนาการทั้งสิ้นเช่นเดียวกับการสงสารสัตว์ป่าที่ถูกทรมาน กักขัง หรืออื่นใดก็ตามที สัตว์อยู่อย่างไม่ผาสุกก็เป็นเรื่องจิตใจ รวมตลอดทั้งการท่องเที่ยวป่าเห็นสัตว์ป่าหรือไม่เห็นสัตว์ป่า ซึ่งควรประดับความงามตามธรรมชาติเป็นทั้งนันทนาการและด้านจิตใจทั้งสิ้น
5. ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการแพทย์ สัตว์ป่านับมีคุณค่าใหญ่หลวงที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษาและแพทย์ ประสบผลสำเร็จในด้านการค้นคว้าทดลองต่าง ๆ โดยขั้นแรกเขาทดลองกับสัตว์ป่าเสียก่อน เช่น ทดลองกับหนู กระแต ลิง จากนั้นจึงนำไปใช้กับคนการค้นคว้า ทดลองเหล่านี้หากไม่มีสัตว์ป่าเป็นเครื่องทดลองก่อนแล้ว ก็อาจจะมีผลสะท้อนถึงคนอย่างมาก
6. เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สัตว์ป่านับได้ว่าเป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ด้วยกันเอง ทำให้ผลกระทบต่อคนบรรเทาเบาบางลงไปไม่มากก็น้อย เช่น ค้างคาวกินแมลง นกฮูกและงูสิงกินหนูต่าง ๆ นกกินตัวหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งหากไม่มีสัตว์ป่าต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว คนอาจจะต้องเสียเงินทองจำนวนมากกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่จะต้องกำจัดศัตรูทั้งทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้
7. คุณค่าของสัตว์ป่าต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ คนส่วนใหญ่มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้นว่า ป่าไม้ทำให้สัตว์ป่ามีที่อยู่อาศัย เป็นอาหาร และเป็นที่หลบภัย ป่าไม้ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ป้องกันการกัดเซาะของน้ำ ลม ป่าไม้ช่วยทำให้มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใสสะอาดปราศจากตะกอน ป่าไม้ช่วยทำให้ฝนตก บรรเทากระแสลมพายุ ป่าไม้ทำให้อากาศไม่ร้อนไม่หนาว ป่าไม้เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุและป่าไม้ทำให้มนุษย์ได้ใช้สอย ขาดป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ก็อยู่ไม่ได้ ทำนองเดียวกันกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่คนจะมองเห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ยกเว้นสัตว์ป่ามักจะมองเห็นเฉพาะต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว สัตว์ป่าก็มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ไม่น้อยเช่นเดียวกัน อย่างเช่นทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ก็มีส่วนช่วยหลายอย่าง เช่น
7.1 สัตว์ป่าช่วยทำลายศัตรูป่าไม้ ต้นไม้ในป่าจะมีศัตรูตามธรรมชาติเสมอ ๆ เช่น โรคและแมลง เป็นต้น แต่ศัตรูเหล่านี้จะไม่ระบาด โดยเฉพาะแมลงหากมีตัวทำลาย สัตว์ป่าหลายชนิดเป็นตัวกำจัดแมลงนอกจากที่กล่าวไปแล้วก็มี เช่น นกหัวขวาน นกไต่ไม้ จะกินแมลงและตัวหนอน ตามลำต้น นกกินแมลง นกจับแมลง จะกินแมลงที่มาทำลายใบ ดอก และผล ตุ่น หนูผี จะกินหนอนที่มากินรากและลำต้นใต้ดิน หากปราศจากสัตว์เหล่านี้แล้วต้นไม้จะได้รับความเสียหาย และอาจจะตายในที่สุด
7.2 สัตว์ป่าช่วยผสมเกสรดอกไม้ ต้นไม้ผสมเกสรได้นั้นอาศัยปัจจัยหลายอย่างช่วย เช่น ลม และแมลงสำหรับสัตว์ป่าบางชนิดก็เป็นตัวที่ช่วยผสมเกสรด้วย เช่น นกกินปลี นกปลีกล้วย และค้างคาวกินน้ำหวานดอกไม้ เป็นต้น สัตว์ป่าเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรดอกไม้ ในขณะที่กินน้ำหวานดอกไม้จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง หรือจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ทำนองเดียวกับลมและแมลงดังกล่าวแล้ว
7.3 สัตว์ป่าช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกขุนทอง นกเงือก ค้างคาวบางชนิด ลิง ค่าง ชะนี กวาง เก้ง กระทิง วัวแดง เป็นต้น จะกินผลไม้เป็นอาหาร แล้วคายหรือถ่ายเมล็ดออกมาตามที่ต่าง ๆ เมล็ดไม้บางชนิดไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการผ่านกระเพาะของสัตว์เหล่านี้ ก็เท่ากับสัตว์ป่าช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ไปในที่ต่าง ๆ ที่สัตว์ท่องเที่ยวไปแล้วคายหรือถ่ายเมล็ดไม้ออกมา
7.4 สัตว์ป่าช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มูลของสัตว์เกือบทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี เท่ากับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ในขณะเดียวกันเมื่อสัตว์ป่าตายลง ซากของสัตว์ป่าก็จะกลายเป็นปุ๋ยได้เช่นเดียวกัน ทุกวันนี้เกิดปัญหาการดัดแปลงมูลของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น มูลของค้างคาว ซึ่งมีอยู่มากมายตามถ้ำต่าง ๆ ให้ใช้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ทุกวันนี้แม้ว่าจะใช้มูลค้างคาวเป็นปุ๋ยอยู่บ้าง ก็อยู่เฉพาะในวงจำกัด ในปัจจุบันวงการป่าไม้เองก็ต้องใช้ปุ๋ยในสวนป่าเหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานสัตว์ป่าออกไปเกือบหมดป่านั่นเอง
ปัญหาทรัพยากรสัตว์ป่า
ในปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดน้อยลงมาก ชนิดที่สมัยก่อนมีอยู่ชุกชุมก็ไม่ค่อยได้พบเห็นอีก บางชนิดก็ถึงกับสูญพันธุ์ไปเลย ปัญหานี้สาเหตุมาจาก
1. ถูกทำลายโดยการล่าโดยตรงไม่ว่าจะล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬาหรือเพื่ออาชีพ
2. การสูญพันธุ์หรือลดน้อยลงไปตามธรรมชาติของสัตว์ป่าเอง ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมได้ หรือจากสาเหตุภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า
3. การนำสัตว์ป่าต่างถิ่น (Exotic aminal) เข้าไปในระบบนิเวศสัตว์ป่าประจำถิ่น ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความสมดุลของสัตว์ป่าประจำถิ่นจนอาจเกิดการสูญพันธุ์
4. การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งก็ได้แก่การที่ป่าไม้ถูกทำลายด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะโดยถากถางและเผาเพื่อทำการเกษตรกิจกรรมการพัฒนา เช่น การตัดถนนผ่านเขตป่า การสร้างเขื่อน ฯลฯ ทำให้สัตว์ป่าบางส่วนต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นหรือไม่ก็เสียชีวิตขณะที่ถิ่นที่อยู่อาศั
ยถูกทำลาย
5. การสูญเสียเนื่องจากสารพิษตกค้าง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เช่น ยาปราบศัตรูพืชจะทำให้เกิดการสะสมพิษในร่างกายทำให้บางชนิดถึงกับสูญพันธุ์ได้
การอนุรักษ์สัตว์ป่า
สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงคนเราด้วยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จึงต้องมีวิธีการป้องกัน และแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า ดังนี้
1. กำหนดกฎหมายและวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าเป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ให้มีมากเพียงพอ
2. การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง
3. การไม่ล่าสัตว์ป่า ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครอง เพราะปัจจุบันสัตว์ป่าทุกชนิดได้ลดจำนวนลงอย่างมาก ทำให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ
4. การป้องกันไฟป่า ไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายแล้ว ยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย
5. การปลูกฝังการให้ความรัก และเมตตาต่อสัตว์อย่างถูกวิธีสัตว์ป่าทุกชนิดมีความรักชีวิตเหมือนกับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นการทรมานสัตว์ป่า ซึ่งมักไม่มีชีวิตรอด
6. การเพาะพันธุ์เพิ่มสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลง ควรมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนและเร่งให้มีสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subtiger/subt.htm
สัตว์ป่า
สัตว์ป่า คือ สัตว์ทุกชนิดไม่ว่า สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลง หรือแมง ซึ่งโดยภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมาย ว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้วและสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะ ดังกล่าว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ป่าไม้ อันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าได้ถูกทำลายลงไปมาก ตลอดจนการไล่ล่าของมนุษย์ จึงทำให้ปริมาณสัตว์ป่ามีจำนวนลดน้อยลงทุกปี จนบางชนิดสูญพันธุ์บางชนิดก็ใกล้จะสูญพันธุ์ เพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ จึงจำเป็นที่เราจะต้องช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่าไว้โดยเร่งด่วน
คุณค่าของสัตว์ป่า
สัตว์ป่าอำนวยประโยชน์นานาประการให้แก่มนุษย์ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ มากมาย อย่างไรก็ตามประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นไปในทางอ้อมมากกว่าทางตรง จึงทำให้มองไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสัตว์ป่าเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เช่น ป่าไม้ น้ำ และแร่ธาตุ เป็นต้น ตัวอย่างคุณค่าของสัตว์ป่า เป็นต้นว่า
1. ด้านเศรษฐกิจ ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่มนุษย์ได้จากสัตว์ป่าก็ได้แก่การค้าสัตว์ป่า หรือซากของสัตว์ป่าโดยเฉพาะหนังสือป่าในปีหนึ่ง ๆ ทำรายได้ให้กับประเทศและมีเงินหมุนเวียนภายในประเทศจำนวนไม่น้อย คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจจะรวมถึงรายได้ต่าง ๆ จากการท่องเที่ยวในการชมสัตว์ด้วย
2. การเป็นอาหาร มนุษย์ได้ใช้เนื้อของสัตว์ป่าเป็นอาหารเป็นเวลาช้านานแล้ว ซึ่งสัตว์ป่าหลายชนิดก็ได้พัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นเลี้ยงไป สัตว์ป่าหลายชนิดตามธรรมชาติคนก็ยังนิยมใช้เนื้อเป็นอาหารอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวาง กระจง กระทิง นกเขาเปล้า นกเป็ดน้ำ ตะกวด แย้ เป็นต้น อวัยวะของสัตว์ป่าบางอย่าง เช่น นอแรด กระโหลก เลียงผา เขากวางอ่อน เลือดและกระเพาะค่าง ดีของหมี ดีงูเห่า ก็ยังมีผู้นิยมดัดแปลงเป็นอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องยาสมุนไพรอีกด้วย
3. เครื่องใช้เครื่องประดับ นอกจากเนื้อของสัตว์ป่าและส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ป่าจะใช้เป็นอาหารและยาแล้ว อวัยวะบางอย่างของสัตว์ป่าก็ยังใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เช่น หนังใช้ทำกระเป๋า รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม งาช้าง ใช้เป็นเครื่องประดับ กระดูก เขาสัตว์ใช้ทำด้ามมีดด้ามเครื่องมือ หรือแกะสลักต่าง ๆ เป็นต้น
4. การนันทนาการและด้านจิตใจ นับเป็นคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของสัตว์ป่า แต่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเงินได้โดยง่าย การท่องเที่ยวชมสัตว์ป่าในสวนสัตว์ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและแหล่งสัตว์ป่าอื่น ๆ นับเป็นเรื่องนันทนาการทั้งสิ้นเช่นเดียวกับการสงสารสัตว์ป่าที่ถูกทรมาน กักขัง หรืออื่นใดก็ตามที สัตว์อยู่อย่างไม่ผาสุกก็เป็นเรื่องจิตใจ รวมตลอดทั้งการท่องเที่ยวป่าเห็นสัตว์ป่าหรือไม่เห็นสัตว์ป่า ซึ่งควรประดับความงามตามธรรมชาติเป็นทั้งนันทนาการและด้านจิตใจทั้งสิ้น
5. ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา และการแพทย์ สัตว์ป่านับมีคุณค่าใหญ่หลวงที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษาและแพทย์ ประสบผลสำเร็จในด้านการค้นคว้าทดลองต่าง ๆ โดยขั้นแรกเขาทดลองกับสัตว์ป่าเสียก่อน เช่น ทดลองกับหนู กระแต ลิง จากนั้นจึงนำไปใช้กับคนการค้นคว้า ทดลองเหล่านี้หากไม่มีสัตว์ป่าเป็นเครื่องทดลองก่อนแล้ว ก็อาจจะมีผลสะท้อนถึงคนอย่างมาก
6. เป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ สัตว์ป่านับได้ว่าเป็นตัวควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ด้วยกันเอง ทำให้ผลกระทบต่อคนบรรเทาเบาบางลงไปไม่มากก็น้อย เช่น ค้างคาวกินแมลง นกฮูกและงูสิงกินหนูต่าง ๆ นกกินตัวหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งหากไม่มีสัตว์ป่าต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว คนอาจจะต้องเสียเงินทองจำนวนมากกว่าเป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่จะต้องกำจัดศัตรูทั้งทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้
7. คุณค่าของสัตว์ป่าต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ คนส่วนใหญ่มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้นว่า ป่าไม้ทำให้สัตว์ป่ามีที่อยู่อาศัย เป็นอาหาร และเป็นที่หลบภัย ป่าไม้ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ป้องกันการกัดเซาะของน้ำ ลม ป่าไม้ช่วยทำให้มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใสสะอาดปราศจากตะกอน ป่าไม้ช่วยทำให้ฝนตก บรรเทากระแสลมพายุ ป่าไม้ทำให้อากาศไม่ร้อนไม่หนาว ป่าไม้เป็นแหล่งสะสมแร่ธาตุและป่าไม้ทำให้มนุษย์ได้ใช้สอย ขาดป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ก็อยู่ไม่ได้ ทำนองเดียวกันกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่คนจะมองเห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ยกเว้นสัตว์ป่ามักจะมองเห็นเฉพาะต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เท่านั้น แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว สัตว์ป่าก็มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ไม่น้อยเช่นเดียวกัน อย่างเช่นทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ก็มีส่วนช่วยหลายอย่าง เช่น
7.1 สัตว์ป่าช่วยทำลายศัตรูป่าไม้ ต้นไม้ในป่าจะมีศัตรูตามธรรมชาติเสมอ ๆ เช่น โรคและแมลง เป็นต้น แต่ศัตรูเหล่านี้จะไม่ระบาด โดยเฉพาะแมลงหากมีตัวทำลาย สัตว์ป่าหลายชนิดเป็นตัวกำจัดแมลงนอกจากที่กล่าวไปแล้วก็มี เช่น นกหัวขวาน นกไต่ไม้ จะกินแมลงและตัวหนอน ตามลำต้น นกกินแมลง นกจับแมลง จะกินแมลงที่มาทำลายใบ ดอก และผล ตุ่น หนูผี จะกินหนอนที่มากินรากและลำต้นใต้ดิน หากปราศจากสัตว์เหล่านี้แล้วต้นไม้จะได้รับความเสียหาย และอาจจะตายในที่สุด
7.2 สัตว์ป่าช่วยผสมเกสรดอกไม้ ต้นไม้ผสมเกสรได้นั้นอาศัยปัจจัยหลายอย่างช่วย เช่น ลม และแมลงสำหรับสัตว์ป่าบางชนิดก็เป็นตัวที่ช่วยผสมเกสรด้วย เช่น นกกินปลี นกปลีกล้วย และค้างคาวกินน้ำหวานดอกไม้ เป็นต้น สัตว์ป่าเหล่านี้จะช่วยผสมเกสรดอกไม้ ในขณะที่กินน้ำหวานดอกไม้จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง หรือจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ทำนองเดียวกับลมและแมลงดังกล่าวแล้ว
7.3 สัตว์ป่าช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าบางชนิด เช่น นกขุนทอง นกเงือก ค้างคาวบางชนิด ลิง ค่าง ชะนี กวาง เก้ง กระทิง วัวแดง เป็นต้น จะกินผลไม้เป็นอาหาร แล้วคายหรือถ่ายเมล็ดออกมาตามที่ต่าง ๆ เมล็ดไม้บางชนิดไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ ในการผ่านกระเพาะของสัตว์เหล่านี้ ก็เท่ากับสัตว์ป่าช่วยในการกระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ไปในที่ต่าง ๆ ที่สัตว์ท่องเที่ยวไปแล้วคายหรือถ่ายเมล็ดไม้ออกมา
7.4 สัตว์ป่าช่วยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มูลของสัตว์เกือบทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี เท่ากับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ในขณะเดียวกันเมื่อสัตว์ป่าตายลง ซากของสัตว์ป่าก็จะกลายเป็นปุ๋ยได้เช่นเดียวกัน ทุกวันนี้เกิดปัญหาการดัดแปลงมูลของสัตว์ป่าบางชนิด เช่น มูลของค้างคาว ซึ่งมีอยู่มากมายตามถ้ำต่าง ๆ ให้ใช้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ ทุกวันนี้แม้ว่าจะใช้มูลค้างคาวเป็นปุ๋ยอยู่บ้าง ก็อยู่เฉพาะในวงจำกัด ในปัจจุบันวงการป่าไม้เองก็ต้องใช้ปุ๋ยในสวนป่าเหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานสัตว์ป่าออกไปเกือบหมดป่านั่นเอง
ปัญหาทรัพยากรสัตว์ป่า
ในปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำนวนลดน้อยลงมาก ชนิดที่สมัยก่อนมีอยู่ชุกชุมก็ไม่ค่อยได้พบเห็นอีก บางชนิดก็ถึงกับสูญพันธุ์ไปเลย ปัญหานี้สาเหตุมาจาก
1. ถูกทำลายโดยการล่าโดยตรงไม่ว่าจะล่าเพื่ออาหารหรือเพื่อการกีฬาหรือเพื่ออาชีพ
2. การสูญพันธุ์หรือลดน้อยลงไปตามธรรมชาติของสัตว์ป่าเอง ถ้าหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนของสภาพแวดล้อมได้ หรือจากสาเหตุภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า
3. การนำสัตว์ป่าต่างถิ่น (Exotic aminal) เข้าไปในระบบนิเวศสัตว์ป่าประจำถิ่น ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความสมดุลของสัตว์ป่าประจำถิ่นจนอาจเกิดการสูญพันธุ์
4. การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งก็ได้แก่การที่ป่าไม้ถูกทำลายด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะโดยถากถางและเผาเพื่อทำการเกษตรกิจกรรมการพัฒนา เช่น การตัดถนนผ่านเขตป่า การสร้างเขื่อน ฯลฯ ทำให้สัตว์ป่าบางส่วนต้องอพยพไปอยู่ที่อื่นหรือไม่ก็เสียชีวิตขณะที่ถิ่นที่อยู่อาศั
ยถูกทำลาย
5. การสูญเสียเนื่องจากสารพิษตกค้าง เมื่อเกษตรกรใช้สารเคมีในการเพาะปลูก เช่น ยาปราบศัตรูพืชจะทำให้เกิดการสะสมพิษในร่างกายทำให้บางชนิดถึงกับสูญพันธุ์ได้
การอนุรักษ์สัตว์ป่า
สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงคนเราด้วยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จึงต้องมีวิธีการป้องกัน และแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า ดังนี้
1. กำหนดกฎหมายและวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าเป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ให้มีมากเพียงพอ
2. การรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างจริงจัง
3. การไม่ล่าสัตว์ป่า ไม่ควรมีการล่าสัตว์ป่าทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่าสงวนสัตว์ป่าคุ้มครอง เพราะปัจจุบันสัตว์ป่าทุกชนิดได้ลดจำนวนลงอย่างมาก ทำให้ขาดความสมดุลทางธรรมชาติ
4. การป้องกันไฟป่า ไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายแล้ว ยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย
5. การปลูกฝังการให้ความรัก และเมตตาต่อสัตว์อย่างถูกวิธีสัตว์ป่าทุกชนิดมีความรักชีวิตเหมือนกับมนุษย์ การฆ่าสัตว์ป่า การนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นการทรมานสัตว์ป่า ซึ่งมักไม่มีชีวิตรอด
6. การเพาะพันธุ์เพิ่มสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์หรือมีจำนวนน้อยลง ควรมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนและเร่งให้มีสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subtiger/subt.htm
นกแต้วแล้วท้องดำ
วันนี้เราพาเพื่อนๆมารู้จักกับสัตว์สงวนของไทยกันครับ
นกแต้วแล้วท้องดำ
นกแต้วแล้วท้องดำ
Pitta gurneyi
ลักษณะ : เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาว ๒๑ เซนติเมตร จัดเป็นนกที่มีความสวยงามมาก นกตัวผู้มีส่วนหัวสีดำ ท้ายทอยมีสีฟ้าประกายสดใส ด้านหลังสีน้ำตาลติดกับอกตอนล่าง และตอนใต้ท้องที่มีดำสนิท นกตัวเมียมีสีสดใสน้อยกว่า โดยทั่วไปสีลำตัวออกน้ำตาลเหลือง ไม่มีแถบดำบนหน้าอกและใต้ท้อง นกอายุน้อยมีหัว และคอสีน้ำตาลเหลือง ส่วนอกใต้ท้องสีน้ำตาล ทั่วตัวมีลายเกล็ดสีดำ
อุปนิสัย : นกแต้วแล้วท้องดำทำรังเป็นซุ้มทรงกลม ด้วยแขนงไม้และใบไผ่ วางอยู่บนพื้นดิน หรือในกอระกำ วางไข่ ๓-๔ ฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นก ช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาเลี้ยงลูก อาหารได้แก่หนอนด้วง ปลวก จิ้งหรีดขนาดเล็ก และแมลงอื่นๆ
ที่อยู่อาศัย : นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำ
เขตแพร่กระจาย : พบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย
สถานภาพ : เคยพบชุกชุมในระยะเมื่อ ๘๐ ปีก่อน แต่ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ จนมีรายงานพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑ นกแต้วแล้วท้องดำ ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ชนิดที่หายากชนิดหนึ่ง ในสิบสองชนิดที่หายากของโลก
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : นกชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดงดิบต่ำ ซึ่งกำลังถูกตัดฟันอย่างหนัก และสภาพที่อยู่เช่นนี้มีน้อยมากในบริเวณเขตคุ้มครองในภาคใต้ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นนกที่หายากเป็นที่ต้องการของตลาดนกเลี้ยง จึงมีราคาแพง อันเป็นแรงกระตุ้นให้นกแต้วแล้วท้องดำถูกล่ามากยิ่งขึ้น
ที่มา http://www.dusitzoo.org/index.php?option=c...4&Itemid=39
นกแต้วแล้วท้องดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Pitta gurneyi
ชื่อวงศ์ :Pittidae
นกแต้วแร้วท้องดำ เป็นนกที่สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการ คุ้มครองธรรมชาติ และทรัพยากร ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources-IUCN) จัดให้เป็นสัตว์ที่ หายากมากที่สุดชนิดหนึ่งใน 12 ชนิดของโลก โดยระบุว่าเป็นนกที่อยู่ใน สภาพวิกฤตและยังไม่ทราบสถานภาพที่แน่ชัด ซึ่งหมายความว่านกชนิดนี้ อาจมีเหลืออยู่ในที่ใดที่หนึ่งหรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้ เนื่องจากไม่มี รายงานการพบนกชนิดนี้ เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.2495
“นกแต้วแร้วท้องดำ” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “นกเต้นสี” หรือ “นกเต้นหัวแพร” จัดเป็นนกที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 21 เซนติเมตร มีลำตัวอ้วนป้อม ขายาวแต่หางสั้น เป็นนกที่สวยงามมากที่สุด ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะตัวผู้มีลักษณะสีสันเด่นมาก คือ มีสีขนบริเวณหัวและ ท้ายทอยสีฟ้าสดตัดกับหน้าผากสีดำ หัวตาด้านข้างและขนบริเวณหูสีดำ ตัดกับสีขาวที่คอ และแถบสีเหลืองที่อกส่วนบน อกล่างสีดำมันต่อกับช่วง ท้องสีดำเรียบ สีข้างสีเหลืองมีลายสีดำคาดขวางตลอดแนว ปีกและหลัง สีน้ำตาลอ่อน หางและขนคลุมหางสีฟ้าอมเขียว ขาสีชมพู ปากดำ ส่วนนก ตัวเมียมีสีซีดจางกว่านกตัวผู้ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง หัวตาด้านข้าง และขนคลุมหูสีดำ อกและท้องสีขาวอมเหลืองมีลายดำคาดขวางตลอดลำตัว หาง หลัง ปีก เหมือนนกตัวผู้ เป็นนกที่เปรียว ชอบซ่อนตัวอยู่ตาม ที่รกบนพื้นป่า จึงพบเห็นได้ยาก เวลาตกใจจะวิ่งหรือกระโดดหนีไปตามพื้น จะบินเมื่อจำเป็นเท่านั้น
นกแต้วแร้วท้องดำมีเขตแพร่กระจายที่จำกัดมาก พบเฉพาะตามป่า ที่ราบต่ำตอนใต้สุดของประเทศพม่า และตอนใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนจรดชายแดนมาเลเซีย แต่ไม่มีรายงานการพบ ในประเทศมาเลเซีย
จากประวัติการค้นพบและการแพร่กระจายของนกแต้วแร้วท้องดำ ระบุว่านกแต้วแร้วท้องดำพบครั้งแรกในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2418 สำหรับในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการค้นพบในปี พ.ศ. 2418-2422 โดยพบ ครั้งแรกที่จังหวัดระนอง ซึ่งอยู่ติดพรมแดนพม่าและพบที่จังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2422 หลังจากนั้นนกแต้วแร้วท้องดำก็ถูกค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ โดย พบที่จังหวัดตรัง สุราษฎร์ธานี และกระบี่ และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีการค้นพบรังนกแต้วแร้วรังแรกของโลก ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนคร- ศรีธรรมราช รังเป็นรูปทรงกลมอยู่บนพื้นดินทำด้วยเศษไม้เล็กๆ และใบไผ่ มีไข่อยู่ในรัง 4 ฟอง รายงานการพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 ได้จับนก แต้วแร้วเพศเมียได้ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นก็ไม่มีรายงานการ พบนกชนิดนี้อีกเลย
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ของนกแต้วแร้วท้องดำ คือ
1. ประชากรนกที่พบในธรรมชาติมีน้อย โอกาสที่จะจับคู่ผสมพันธุ์จึงมีน้อยด้วย
2. ถูกชาวบ้านบุกรุก รบกวน
3. ที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นป่าในที่ราบต่ำถูกทำลาย
4. ความสามารถในการปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ไม่ดี
อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2531 นักวิทยาศาสตร์ไทยได้รายงานการ พบนกชนิดนี้อีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ได้พบทั้งรังและลูกนกด้วยบริเวณที่พบคือ ที่เขาน้อยจู้จี้ จังหวัดกระบี่ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ ป่าเขาประบางครามไปเรียบร้อยแล้ว การค้นพบนกแต้วแร้วท้องดำในครั้งนี้ เป็นนิมิตหมายอันดีว่านกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอันจำกัดเฉพาะทาง ตอนใต้ของไทยและพม่านั้น ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้และหากมีการจัด การที่ดีแล้ว นกแต้วแร้วท้องดำก็คงจะมีโอกาสได้ขยายพันธุ์และแพร่กระจาย กว้างขวางยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิทยาศาสตร์กับสุราษฎร์ธานี
นกแต้วแล้วท้องดำ Gurneys' Pitta
นกแต้วแล้วท้องดำ เป็นหนึ่งในนกแต้วแล้ว 12 ชนิดที่พบในประเทศไทย รูปร่างอ้วนป้อม คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาว 22 เซนติเมตร ตัวผู้หัวสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีน้ำเงินเหลือบฟ้า หางสีน้ำเงินอมเขียว ท้องสีเหลืองสดมีริ้วสีดำบาง ๆ พาดสลับตลอดช่วงท้อง ใต้ท้องแต้มสีดำสมชื่อ ตัวเมียกระหม่อมสีเหลืองอ่อน มีแถบดำผ่านใต้ตาลงไปถึงแก้ม ท้องสีขาว มีแถบสีน้ำตาลขวางจากอกลงไปถึงก้น
นกแต้วแล้วท้องดำอาศัยอยู่ในป่าดิบที่ราบต่ำ ซึ่งมีระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบตามที่ราบ ใกล้ร่องน้ำหรือลำธารที่ชื้นแฉะ ไม่ชอบอยู่บริเวณที่มีไม้พื้นล่างขึ้นรกทึบ เขตกระจายพันธุ์อยู่ในทางใต้ของพม่าที่ติดต่อกับประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบเพียงแห่งเดียวที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม (เขานอจู้จี้) จังหวัดกระบี่เพียงแห่งเดียว
นกแต้วแล้วหากินด้วยการกระโดดหาแมลงบนพื้นดินกินหรืออาจขุดไส้เดือนขึ้น มากิน บางครั้งอาจจับกบ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กด้วย โดยเฉพาะในช่วงมีลูกอ่อน
นกตัวผู้จะร้องหาคู่ด้วยเสียง 2 พยางค์ เร็ว ๆ ว่า “ท-รับ” แต่ถ้าตกใจนกร้องเสียง “แต้ว แต้ว” เว้นช่วงแต่ละพยางค์ประมาณ 7-8 วินาที และอาจร้องนานเป็นชั่วโมง ส่วนเสียงที่ใช้ในการสื่อสารกันระยะใกล้จะใช้เสียงนุ่มดัง "ฮุ ฮุ"
ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ออกไข่คราวละ 3-4 ฟอง
ภัยคุกคามหลักต่อนกแต้วแล้วท้องดำคือการบุกรุกป่าจากการทำไม้และการถาก ถางเพื่อทำการเกษตร การที่นกแต้วแล้วท้องดำอาศัยอยู่ป่าที่ราบต่ำซึ่งเหมาะในการทำไร่ จึงยิ่งทำให้ถูกคุกคามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การลักลอบจับนกมาขายก็เป็นภัยที่ร้ายแรงเช่นกัน เพราะผู้คนทางภาคใต้ของไทยนิยมการเลี้ยงนกไว้ในกรง ดังจะเห็นจากการพบบ่วงดักนกจำนวนมากวางอยู่ตามชายป่าเขานอจู้จี้
ปัจจุบันสถานภาพของนกแต้วแล้วท้องดำในประเทศไทยน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2529 เคยพบ 44-45 คู่ แต่ในปี พ.ศ. 2540 เหลือเพียง 9 คู่เท่านั้น ปัจจุบันคาดว่ามีอยู่ประมาณ 13-20 คู่เท่านั้น เป็นหนึ่งในสัตว์สงวน 15 ชนิดของไทย ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ไอยูซีเอ็นเคยประเมินสถานภาพไว้ว่า ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CE) แต่จากการที่การสำรวจพบประชากรของนกชนิดนี้ในพม่ามากขึ้น ในปี 2551 จึงปรับสถานภาพให้ดีขึ้นเล็กน้อยเป็น ใกล้สูญพันธุ์ (EN)
ชื่อไทย นกแต้วแล้วท้องดำ
ชื่ออังกฤษ Gurney's Pitta
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pitta gurneyi
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves
อันดับ Passeriformes
วงศ์ Pittidae
สถานภาพการคุ้มครอง ไทย : สัตว์ป่าสงวน ไซเตส : บัญชีหมายเลข 1
สถานภาพประชากร ไอยูซีเอ็น : ใกล้สูญพันธุ์ (2551)
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณตาน้ำ http://www.siamfreestyle.com ด้วยครับ
นกแต้วแล้วท้องดำ
Pitta gurneyi
นกแต้วแล้วท้องดำ
Pitta gurneyi
ลักษณะ : เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาว ๒๑ เซนติเมตร จัดเป็นนกที่มีความสวยงามมาก นกตัวผู้มีส่วนหัวสีดำ ท้ายทอยมีสีฟ้าประกายสดใส ด้านหลังสีน้ำตาลติดกับอกตอนล่าง และตอนใต้ท้องที่มีดำสนิท นกตัวเมียมีสีสดใสน้อยกว่า โดยทั่วไปสีลำตัวออกน้ำตาลเหลือง ไม่มีแถบดำบนหน้าอกและใต้ท้อง นกอายุน้อยมีหัว และคอสีน้ำตาลเหลือง ส่วนอกใต้ท้องสีน้ำตาล ทั่วตัวมีลายเกล็ดสีดำ
อุปนิสัย : นกแต้วแล้วท้องดำทำรังเป็นซุ้มทรงกลม ด้วยแขนงไม้และใบไผ่ วางอยู่บนพื้นดิน หรือในกอระกำ วางไข่ ๓-๔ ฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นก ช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาเลี้ยงลูก อาหารได้แก่หนอนด้วง ปลวก จิ้งหรีดขนาดเล็ก และแมลงอื่นๆ
ที่อยู่อาศัย : นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำ
เขตแพร่กระจาย : พบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย
สถานภาพ : เคยพบชุกชุมในระยะเมื่อ ๘๐ ปีก่อน แต่ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ จนมีรายงานพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑ นกแต้วแล้วท้องดำ ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ชนิดที่หายากชนิดหนึ่ง ในสิบสองชนิดที่หายากของโลก
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : นกชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดงดิบต่ำ ซึ่งกำลังถูกตัดฟันอย่างหนัก และสภาพที่อยู่เช่นนี้มีน้อยมากในบริเวณเขตคุ้มครองในภาคใต้ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นนกที่หายากเป็นที่ต้องการของตลาดนกเลี้ยง จึงมีราคาแพง อันเป็นแรงกระตุ้นให้นกแต้วแล้วท้องดำถูกล่ามากยิ่งขึ้น
ที่มา http://www.dusitzoo.org/index.php?option=c...4&Itemid=39
นกแต้วแล้วท้องดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Pitta gurneyi
ชื่อวงศ์ :Pittidae
นกแต้วแร้วท้องดำ เป็นนกที่สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการ คุ้มครองธรรมชาติ และทรัพยากร ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources-IUCN) จัดให้เป็นสัตว์ที่ หายากมากที่สุดชนิดหนึ่งใน 12 ชนิดของโลก โดยระบุว่าเป็นนกที่อยู่ใน สภาพวิกฤตและยังไม่ทราบสถานภาพที่แน่ชัด ซึ่งหมายความว่านกชนิดนี้ อาจมีเหลืออยู่ในที่ใดที่หนึ่งหรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้ เนื่องจากไม่มี รายงานการพบนกชนิดนี้ เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.2495
“นกแต้วแร้วท้องดำ” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “นกเต้นสี” หรือ “นกเต้นหัวแพร” จัดเป็นนกที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 21 เซนติเมตร มีลำตัวอ้วนป้อม ขายาวแต่หางสั้น เป็นนกที่สวยงามมากที่สุด ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะตัวผู้มีลักษณะสีสันเด่นมาก คือ มีสีขนบริเวณหัวและ ท้ายทอยสีฟ้าสดตัดกับหน้าผากสีดำ หัวตาด้านข้างและขนบริเวณหูสีดำ ตัดกับสีขาวที่คอ และแถบสีเหลืองที่อกส่วนบน อกล่างสีดำมันต่อกับช่วง ท้องสีดำเรียบ สีข้างสีเหลืองมีลายสีดำคาดขวางตลอดแนว ปีกและหลัง สีน้ำตาลอ่อน หางและขนคลุมหางสีฟ้าอมเขียว ขาสีชมพู ปากดำ ส่วนนก ตัวเมียมีสีซีดจางกว่านกตัวผู้ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง หัวตาด้านข้าง และขนคลุมหูสีดำ อกและท้องสีขาวอมเหลืองมีลายดำคาดขวางตลอดลำตัว หาง หลัง ปีก เหมือนนกตัวผู้ เป็นนกที่เปรียว ชอบซ่อนตัวอยู่ตาม ที่รกบนพื้นป่า จึงพบเห็นได้ยาก เวลาตกใจจะวิ่งหรือกระโดดหนีไปตามพื้น จะบินเมื่อจำเป็นเท่านั้น
นกแต้วแร้วท้องดำมีเขตแพร่กระจายที่จำกัดมาก พบเฉพาะตามป่า ที่ราบต่ำตอนใต้สุดของประเทศพม่า และตอนใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนจรดชายแดนมาเลเซีย แต่ไม่มีรายงานการพบ ในประเทศมาเลเซีย
จากประวัติการค้นพบและการแพร่กระจายของนกแต้วแร้วท้องดำ ระบุว่านกแต้วแร้วท้องดำพบครั้งแรกในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2418 สำหรับในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการค้นพบในปี พ.ศ. 2418-2422 โดยพบ ครั้งแรกที่จังหวัดระนอง ซึ่งอยู่ติดพรมแดนพม่าและพบที่จังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2422 หลังจากนั้นนกแต้วแร้วท้องดำก็ถูกค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ โดย พบที่จังหวัดตรัง สุราษฎร์ธานี และกระบี่ และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีการค้นพบรังนกแต้วแร้วรังแรกของโลก ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนคร- ศรีธรรมราช รังเป็นรูปทรงกลมอยู่บนพื้นดินทำด้วยเศษไม้เล็กๆ และใบไผ่ มีไข่อยู่ในรัง 4 ฟอง รายงานการพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 ได้จับนก แต้วแร้วเพศเมียได้ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นก็ไม่มีรายงานการ พบนกชนิดนี้อีกเลย
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ของนกแต้วแร้วท้องดำ คือ
1. ประชากรนกที่พบในธรรมชาติมีน้อย โอกาสที่จะจับคู่ผสมพันธุ์จึงมีน้อยด้วย
2. ถูกชาวบ้านบุกรุก รบกวน
3. ที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นป่าในที่ราบต่ำถูกทำลาย
4. ความสามารถในการปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ไม่ดี
อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2531 นักวิทยาศาสตร์ไทยได้รายงานการ พบนกชนิดนี้อีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ได้พบทั้งรังและลูกนกด้วยบริเวณที่พบคือ ที่เขาน้อยจู้จี้ จังหวัดกระบี่ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ ป่าเขาประบางครามไปเรียบร้อยแล้ว การค้นพบนกแต้วแร้วท้องดำในครั้งนี้ เป็นนิมิตหมายอันดีว่านกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอันจำกัดเฉพาะทาง ตอนใต้ของไทยและพม่านั้น ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้และหากมีการจัด การที่ดีแล้ว นกแต้วแร้วท้องดำก็คงจะมีโอกาสได้ขยายพันธุ์และแพร่กระจาย กว้างขวางยิ่งขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิทยาศาสตร์กับสุราษฎร์ธานี
นกแต้วแล้วท้องดำ Gurneys' Pitta
นกแต้วแล้วท้องดำ เป็นหนึ่งในนกแต้วแล้ว 12 ชนิดที่พบในประเทศไทย รูปร่างอ้วนป้อม คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาว 22 เซนติเมตร ตัวผู้หัวสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีน้ำเงินเหลือบฟ้า หางสีน้ำเงินอมเขียว ท้องสีเหลืองสดมีริ้วสีดำบาง ๆ พาดสลับตลอดช่วงท้อง ใต้ท้องแต้มสีดำสมชื่อ ตัวเมียกระหม่อมสีเหลืองอ่อน มีแถบดำผ่านใต้ตาลงไปถึงแก้ม ท้องสีขาว มีแถบสีน้ำตาลขวางจากอกลงไปถึงก้น
นกแต้วแล้วท้องดำอาศัยอยู่ในป่าดิบที่ราบต่ำ ซึ่งมีระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบตามที่ราบ ใกล้ร่องน้ำหรือลำธารที่ชื้นแฉะ ไม่ชอบอยู่บริเวณที่มีไม้พื้นล่างขึ้นรกทึบ เขตกระจายพันธุ์อยู่ในทางใต้ของพม่าที่ติดต่อกับประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบเพียงแห่งเดียวที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม (เขานอจู้จี้) จังหวัดกระบี่เพียงแห่งเดียว
นกแต้วแล้วหากินด้วยการกระโดดหาแมลงบนพื้นดินกินหรืออาจขุดไส้เดือนขึ้น มากิน บางครั้งอาจจับกบ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กด้วย โดยเฉพาะในช่วงมีลูกอ่อน
นกตัวผู้จะร้องหาคู่ด้วยเสียง 2 พยางค์ เร็ว ๆ ว่า “ท-รับ” แต่ถ้าตกใจนกร้องเสียง “แต้ว แต้ว” เว้นช่วงแต่ละพยางค์ประมาณ 7-8 วินาที และอาจร้องนานเป็นชั่วโมง ส่วนเสียงที่ใช้ในการสื่อสารกันระยะใกล้จะใช้เสียงนุ่มดัง "ฮุ ฮุ"
ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ออกไข่คราวละ 3-4 ฟอง
ภัยคุกคามหลักต่อนกแต้วแล้วท้องดำคือการบุกรุกป่าจากการทำไม้และการถาก ถางเพื่อทำการเกษตร การที่นกแต้วแล้วท้องดำอาศัยอยู่ป่าที่ราบต่ำซึ่งเหมาะในการทำไร่ จึงยิ่งทำให้ถูกคุกคามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การลักลอบจับนกมาขายก็เป็นภัยที่ร้ายแรงเช่นกัน เพราะผู้คนทางภาคใต้ของไทยนิยมการเลี้ยงนกไว้ในกรง ดังจะเห็นจากการพบบ่วงดักนกจำนวนมากวางอยู่ตามชายป่าเขานอจู้จี้
ปัจจุบันสถานภาพของนกแต้วแล้วท้องดำในประเทศไทยน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2529 เคยพบ 44-45 คู่ แต่ในปี พ.ศ. 2540 เหลือเพียง 9 คู่เท่านั้น ปัจจุบันคาดว่ามีอยู่ประมาณ 13-20 คู่เท่านั้น เป็นหนึ่งในสัตว์สงวน 15 ชนิดของไทย ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ไอยูซีเอ็นเคยประเมินสถานภาพไว้ว่า ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CE) แต่จากการที่การสำรวจพบประชากรของนกชนิดนี้ในพม่ามากขึ้น ในปี 2551 จึงปรับสถานภาพให้ดีขึ้นเล็กน้อยเป็น ใกล้สูญพันธุ์ (EN)
ชื่อไทย นกแต้วแล้วท้องดำ
ชื่ออังกฤษ Gurney's Pitta
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pitta gurneyi
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves
อันดับ Passeriformes
วงศ์ Pittidae
สถานภาพการคุ้มครอง ไทย : สัตว์ป่าสงวน ไซเตส : บัญชีหมายเลข 1
สถานภาพประชากร ไอยูซีเอ็น : ใกล้สูญพันธุ์ (2551)
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณตาน้ำ http://www.siamfreestyle.com ด้วยครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)