วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นกแต้วแล้วท้องดำ

  วันนี้เราพาเพื่อนๆมารู้จักกับสัตว์สงวนของไทยกันครับ

                                                               นกแต้วแล้วท้องดำ

Pitta gurneyi


นกแต้วแล้วท้องดำ
Pitta gurney


ลักษณะ : เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาว ๒๑ เซนติเมตร จัดเป็นนกที่มีความสวยงามมาก นกตัวผู้มีส่วนหัวสีดำ ท้ายทอยมีสีฟ้าประกายสดใส ด้านหลังสีน้ำตาลติดกับอกตอนล่าง และตอนใต้ท้องที่มีดำสนิท นกตัวเมียมีสีสดใสน้อยกว่า โดยทั่วไปสีลำตัวออกน้ำตาลเหลือง ไม่มีแถบดำบนหน้าอกและใต้ท้อง นกอายุน้อยมีหัว และคอสีน้ำตาลเหลือง ส่วนอกใต้ท้องสีน้ำตาล ทั่วตัวมีลายเกล็ดสีดำ

อุปนิสัย : นกแต้วแล้วท้องดำทำรังเป็นซุ้มทรงกลม ด้วยแขนงไม้และใบไผ่ วางอยู่บนพื้นดิน หรือในกอระกำ วางไข่ ๓-๔ ฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นก ช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาเลี้ยงลูก อาหารได้แก่หนอนด้วง ปลวก จิ้งหรีดขนาดเล็ก และแมลงอื่นๆ

ที่อยู่อาศัย : นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำ

เขตแพร่กระจาย : พบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย

สถานภาพ : เคยพบชุกชุมในระยะเมื่อ ๘๐ ปีก่อน แต่ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ จนมีรายงานพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑ นกแต้วแล้วท้องดำ ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ชนิดที่หายากชนิดหนึ่ง ในสิบสองชนิดที่หายากของโลก

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : นกชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดงดิบต่ำ ซึ่งกำลังถูกตัดฟันอย่างหนัก และสภาพที่อยู่เช่นนี้มีน้อยมากในบริเวณเขตคุ้มครองในภาคใต้ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นนกที่หายากเป็นที่ต้องการของตลาดนกเลี้ยง จึงมีราคาแพง อันเป็นแรงกระตุ้นให้นกแต้วแล้วท้องดำถูกล่ามากยิ่งขึ้น

ที่มา http://www.dusitzoo.org/index.php?option=c...4&Itemid=39


นกแต้วแล้วท้องดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Pitta gurneyi
ชื่อวงศ์ :Pittidae


นกแต้วแร้วท้องดำ เป็นนกที่สหพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อการ คุ้มครองธรรมชาติ และทรัพยากร ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources-IUCN) จัดให้เป็นสัตว์ที่ หายากมากที่สุดชนิดหนึ่งใน 12 ชนิดของโลก โดยระบุว่าเป็นนกที่อยู่ใน สภาพวิกฤตและยังไม่ทราบสถานภาพที่แน่ชัด ซึ่งหมายความว่านกชนิดนี้ อาจมีเหลืออยู่ในที่ใดที่หนึ่งหรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้วก็ได้ เนื่องจากไม่มี รายงานการพบนกชนิดนี้ เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.2495

“นกแต้วแร้วท้องดำ” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “นกเต้นสี” หรือ “นกเต้นหัวแพร” จัดเป็นนกที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 21 เซนติเมตร มีลำตัวอ้วนป้อม ขายาวแต่หางสั้น เป็นนกที่สวยงามมากที่สุด ชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะตัวผู้มีลักษณะสีสันเด่นมาก คือ มีสีขนบริเวณหัวและ ท้ายทอยสีฟ้าสดตัดกับหน้าผากสีดำ หัวตาด้านข้างและขนบริเวณหูสีดำ ตัดกับสีขาวที่คอ และแถบสีเหลืองที่อกส่วนบน อกล่างสีดำมันต่อกับช่วง ท้องสีดำเรียบ สีข้างสีเหลืองมีลายสีดำคาดขวางตลอดแนว ปีกและหลัง สีน้ำตาลอ่อน หางและขนคลุมหางสีฟ้าอมเขียว ขาสีชมพู ปากดำ ส่วนนก ตัวเมียมีสีซีดจางกว่านกตัวผู้ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง หัวตาด้านข้าง และขนคลุมหูสีดำ อกและท้องสีขาวอมเหลืองมีลายดำคาดขวางตลอดลำตัว หาง หลัง ปีก เหมือนนกตัวผู้ เป็นนกที่เปรียว ชอบซ่อนตัวอยู่ตาม ที่รกบนพื้นป่า จึงพบเห็นได้ยาก เวลาตกใจจะวิ่งหรือกระโดดหนีไปตามพื้น จะบินเมื่อจำเป็นเท่านั้น

นกแต้วแร้วท้องดำมีเขตแพร่กระจายที่จำกัดมาก พบเฉพาะตามป่า ที่ราบต่ำตอนใต้สุดของประเทศพม่า และตอนใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนจรดชายแดนมาเลเซีย แต่ไม่มีรายงานการพบ ในประเทศมาเลเซีย

จากประวัติการค้นพบและการแพร่กระจายของนกแต้วแร้วท้องดำ ระบุว่านกแต้วแร้วท้องดำพบครั้งแรกในประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2418 สำหรับในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการค้นพบในปี พ.ศ. 2418-2422 โดยพบ ครั้งแรกที่จังหวัดระนอง ซึ่งอยู่ติดพรมแดนพม่าและพบที่จังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2422 หลังจากนั้นนกแต้วแร้วท้องดำก็ถูกค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ โดย พบที่จังหวัดตรัง สุราษฎร์ธานี และกระบี่ และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีการค้นพบรังนกแต้วแร้วรังแรกของโลก ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนคร- ศรีธรรมราช รังเป็นรูปทรงกลมอยู่บนพื้นดินทำด้วยเศษไม้เล็กๆ และใบไผ่ มีไข่อยู่ในรัง 4 ฟอง รายงานการพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 ได้จับนก แต้วแร้วเพศเมียได้ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากนั้นก็ไม่มีรายงานการ พบนกชนิดนี้อีกเลย

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ของนกแต้วแร้วท้องดำ คือ
1. ประชากรนกที่พบในธรรมชาติมีน้อย โอกาสที่จะจับคู่ผสมพันธุ์จึงมีน้อยด้วย
2. ถูกชาวบ้านบุกรุก รบกวน
3. ที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นป่าในที่ราบต่ำถูกทำลาย
4. ความสามารถในการปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ไม่ดี

อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2531 นักวิทยาศาสตร์ไทยได้รายงานการ พบนกชนิดนี้อีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ได้พบทั้งรังและลูกนกด้วยบริเวณที่พบคือ ที่เขาน้อยจู้จี้ จังหวัดกระบี่ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ ป่าเขาประบางครามไปเรียบร้อยแล้ว การค้นพบนกแต้วแร้วท้องดำในครั้งนี้ เป็นนิมิตหมายอันดีว่านกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอันจำกัดเฉพาะทาง ตอนใต้ของไทยและพม่านั้น ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้และหากมีการจัด การที่ดีแล้ว นกแต้วแร้วท้องดำก็คงจะมีโอกาสได้ขยายพันธุ์และแพร่กระจาย กว้างขวางยิ่งขึ้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิทยาศาสตร์กับสุราษฎร์ธานี
นกแต้วแล้วท้องดำ Gurneys' Pitta

นกแต้วแล้วท้องดำ เป็นหนึ่งในนกแต้วแล้ว 12 ชนิดที่พบในประเทศไทย รูปร่างอ้วนป้อม คอสั้น หัวโต หางสั้น ลำตัวยาว 22 เซนติเมตร ตัวผู้หัวสีดำ กระหม่อมและท้ายทอยสีน้ำเงินเหลือบฟ้า หางสีน้ำเงินอมเขียว ท้องสีเหลืองสดมีริ้วสีดำบาง ๆ พาดสลับตลอดช่วงท้อง ใต้ท้องแต้มสีดำสมชื่อ ตัวเมียกระหม่อมสีเหลืองอ่อน มีแถบดำผ่านใต้ตาลงไปถึงแก้ม ท้องสีขาว มีแถบสีน้ำตาลขวางจากอกลงไปถึงก้น

นกแต้วแล้วท้องดำอาศัยอยู่ในป่าดิบที่ราบต่ำ ซึ่งมีระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบตามที่ราบ ใกล้ร่องน้ำหรือลำธารที่ชื้นแฉะ ไม่ชอบอยู่บริเวณที่มีไม้พื้นล่างขึ้นรกทึบ เขตกระจายพันธุ์อยู่ในทางใต้ของพม่าที่ติดต่อกับประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบเพียงแห่งเดียวที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม (เขานอจู้จี้) จังหวัดกระบี่เพียงแห่งเดียว

นกแต้วแล้วหากินด้วยการกระโดดหาแมลงบนพื้นดินกินหรืออาจขุดไส้เดือนขึ้น มากิน บางครั้งอาจจับกบ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กด้วย โดยเฉพาะในช่วงมีลูกอ่อน

นกตัวผู้จะร้องหาคู่ด้วยเสียง 2 พยางค์ เร็ว ๆ ว่า “ท-รับ” แต่ถ้าตกใจนกร้องเสียง “แต้ว แต้ว” เว้นช่วงแต่ละพยางค์ประมาณ 7-8 วินาที และอาจร้องนานเป็นชั่วโมง ส่วนเสียงที่ใช้ในการสื่อสารกันระยะใกล้จะใช้เสียงนุ่มดัง "ฮุ ฮุ"

ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ออกไข่คราวละ 3-4 ฟอง

ภัยคุกคามหลักต่อนกแต้วแล้วท้องดำคือการบุกรุกป่าจากการทำไม้และการถาก ถางเพื่อทำการเกษตร การที่นกแต้วแล้วท้องดำอาศัยอยู่ป่าที่ราบต่ำซึ่งเหมาะในการทำไร่ จึงยิ่งทำให้ถูกคุกคามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การลักลอบจับนกมาขายก็เป็นภัยที่ร้ายแรงเช่นกัน เพราะผู้คนทางภาคใต้ของไทยนิยมการเลี้ยงนกไว้ในกรง ดังจะเห็นจากการพบบ่วงดักนกจำนวนมากวางอยู่ตามชายป่าเขานอจู้จี้

ปัจจุบันสถานภาพของนกแต้วแล้วท้องดำในประเทศไทยน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2529 เคยพบ 44-45 คู่ แต่ในปี พ.ศ. 2540 เหลือเพียง 9 คู่เท่านั้น ปัจจุบันคาดว่ามีอยู่ประมาณ 13-20 คู่เท่านั้น เป็นหนึ่งในสัตว์สงวน 15 ชนิดของไทย ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ไอยูซีเอ็นเคยประเมินสถานภาพไว้ว่า ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (CE) แต่จากการที่การสำรวจพบประชากรของนกชนิดนี้ในพม่ามากขึ้น ในปี 2551 จึงปรับสถานภาพให้ดีขึ้นเล็กน้อยเป็น ใกล้สูญพันธุ์ (EN)
ชื่อไทย นกแต้วแล้วท้องดำ
ชื่ออังกฤษ Gurney's Pitta
ชื่ออื่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pitta gurneyi
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม Chordata
ชั้น Aves
อันดับ Passeriformes
วงศ์ Pittidae
สถานภาพการคุ้มครอง ไทย : สัตว์ป่าสงวน ไซเตส : บัญชีหมายเลข 1
สถานภาพประชากร ไอยูซีเอ็น : ใกล้สูญพันธุ์ (2551)

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณตาน้ำ http://www.siamfreestyle.com ด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น